หัวฉีดแก๊ส
การคาริเบทหัวฉีด (calibrate) หรือการปรับตั้งระยะยกของหัวฉีด เป็นสิ่งที่ผมคิดว่าคนใช้แก๊สมักจะมองข้ามกันไปครับ เพราะเราไม่มีทางรู้ได้หรอกครับว่ามันทำงานเป็นยังไง หัวฉีดยกเท่ากันทุกตัวไม๊ ถ้าอยากรู้มีอย่างเดียวคับคือต้องใช้เครื่องมือในการวัด เท่านั้นนะครับ
การทำงานของหัวฉีดแก๊ส เมื่อ ECU จ่ายไฟ 12V เข้าโซลินอย หัวฉีดจะถูกยกขึ้น และเมื่อตัดไฟออกหัวฉีดก็จะถูกปิดลงด้วยแรงของสปริง ขั้นตอนที่กล่าวมาเมื่อตอนใช้งานปกติจะเกิดขึ้นในเสี้ยววินาที ว่ากันเป็น MS (มิลลิวินาที)
ทีนี้เราจะคาริเบทเราก็ต้องจ่ายไฟเข้าเพื่อให้หัวฉีดยกค้าง แล้วตั้งระยะที่หน้าปัดให้เป็น 0
จากนั้นตัดไฟที่จ่ายเข้าโซลินอย หัวฉีดจะถูกปิด เราก็อ่านค่าที่ได้ว่าอยู่ที่เท่าไหร่ ในที่นี้ผมจะตั้งให้ระยะยกทั้ง 3 หัวเท่ากันคือ 0.53 มม. ครับ
จริงๆการคาริเบท ผมทำไปแล้วตอน 200,000 กม. รูปที่ถ่ายไว้ก็เป็นของช่วงนั้นซะส่วนมาก และในครั้งนี้ผ่านมา 50,000 กม. ผมก็เลยถือโอกาสเช็คระยะยกอีกครั้ง ซึ่งระยะยกของหัวฉีดยังใกล้เคียงกับที่ตั้งครั้งที่แล้วคืออยู่ในช่วง 0.53 – 0.55 มม. ปรับตั้งเพียงเล็กน้อยก็เข้าที่เข้าทางแล้วครับ
แต่ในครั้งแรกที่เช็คบอกเลยว่าเพี้ยนมาก เพี้ยนขนาดจูนไม่ลงกันเลยทีเดียว ค่าที่จดเอาไว้ 0.50 – 0.65 มม. เลยมีอาการบางสูบจ่ายแก๊สหนา บางสูบจ่ายแก๊สบางไป กลับมาที่การตั้งค่า เมื่อวัดแล้วไม่ได้ 0.53 มม. ก็ใช้ 6 เหลี่ยมหมุนที่หัวด้านบนจนได้ค่าที่ต้องการเป็นอันเสร็จครับ ทำแบบนี้จนครบทั้ง 3 หัว แล้วก็ประกอบกลับก็เป็นอันเสร็จครับ
หลังจากการคาริเบทหัวฉีดแล้ว จูนแก๊สง่าย เครื่องนิ่งขึ้นด้วยครับ
สุดท้ายของการทำมาทั้งหมดคือการจูนแก๊สใหม่ครับ อันนี้อยู่ที่ยี่ห้อของแต่ละคนว่าใช้ชุดแก๊สของค่ายไหน จูนเสร็จ เติมน้ำหม้อน้ำไล่อากาศ วิ่งทดสอบ เป็นอันเสร็จครับ
การคาริเบทหัวฉีด (calibrate) หรือการปรับตั้งระยะยกของหัวฉีด เป็นสิ่งที่ผมคิดว่าคนใช้แก๊
การทำงานของหัวฉีดแก๊ส เมื่อ ECU จ่ายไฟ 12V เข้าโซลินอย หัวฉีดจะถูกยกขึ้น และเมื่อตัดไฟออกหัวฉีดก็จะถู
ทีนี้เราจะคาริเบทเราก็ต้องจ่
จากนั้นตัดไฟที่จ่ายเข้าโซลินอย หัวฉีดจะถูกปิด เราก็อ่านค่าที่ได้ว่าอยู่ที่
จริงๆการคาริเบท ผมทำไปแล้วตอน 200,000 กม. รูปที่ถ่ายไว้ก็เป็นของช่วงนั้
แต่ในครั้งแรกที่เช็คบอกเลยว่
หลังจากการคาริเบทหัวฉีดแล้ว จูนแก๊สง่าย เครื่องนิ่งขึ้นด้วยครับ
สุดท้ายของการทำมาทั้งหมดคื
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น