ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บางทีแอร์ก็ไม่เย็น ลองเช็คหน้าครัชคอมแอร์กันก่อนไม๊


ก่อนอื่น ผมต้องขอขอบคุณ วิลลิส แคริเออร์ นักประดิษฐ์ชาวอเมริกา ผู้เป็นบิดาแห่งเครื่องปรับอากาศสมัยใหม่ เพราะอย่างที่เรารู้ๆกันอยู่ครับว่าเมืองไทยเป็นเมืองร้อน ถ้า...... รถไม่มีแอร์ คงทรมานไม่น้อยเลยแน่ๆตอนรถติด

แล้วถ้าแอร์รถเราเย็นมั่ง ไม่เย็นมั่งล่ะ ...... มันเกิดจากอะไรได้บ้าง โอ๊ยยยยย  ...... สาเหตุเยอะแยะ เช่น เทอร์โมสตัส มีปัญหาไม๊ ระบบไฟมีปัญหารึป่าว  ระบบระบายความร้อนยังดีอยู่ไม๊  ฯลฯ  แต่สำหรับปัญหาที่ผมเจอเกี่ยวกับแอร์ที่จะเอามาบอกกันครั้งนี้คือ อยู่ๆแอร์ก็ไม่เย็นเอาซะดื้อๆ พอดับเครื่องสตาร์ทใหม่ เปิดแอร์ >>> แอร์ก็กลับมาเย็นตามปกติ

แล้วก็ปกติแบบนี้ไปอีกหลายวัน จนเมื่อ.... อาการแบบเดิมกลับมาอีก >> จอดรถ เปิดกระโปรงหน้า อันดับแรกที่ดู พัดลมไฟฟ้ายังทำงานปกติ แต่คอมเพรสเซอร์แอร์ ..... ไม่ทำงาน !! >>> กดปิด AC พัดไฟฟ้าก็หยุด พอกดเปิด AC พัดลมก็กลับมาทำงานเหมือนเดิม แต่คอมแอร์ก็ยังไม่ทำงาน   ....... งั้นรู้แล้วล่ะว่าที่อยู่ๆแอร์ไม่เย็นเพราะ คอมเพรสเซอร์แอร์ ไม่ยอมทำงาน (รู้ได้จากหน้าครัชแอร์ไม่หมุน)  ที่นี้ปัญหาที่ทำให้หน้าครัชแอร์ไม่หมุนมีหลายอย่างเลย แล้วจะเริ่มเช็คจากอะไรก่อนดี เอาง่ายๆที่สุดก่อนแล้วกันหน้าครัชคอมแอร์สึก , แม่เหล็กเสียรึป่าว การเช็คไม่ยากครับ หาไขควงแล้วมุดๆๆ ลงใต้ท้องรถ แล้วเคาะเบาๆตรงหน้าครัชคอมแอร์ ...... แตร๊ก !!!!  เย้ๆๆๆ  แอร์เย็นแล้วววววว เดี๋ยวกลับถึงบ้าน รอเครื่องเย็นๆค่อยเช็คอีกรอบแล้วกัน

ระหว่างที่รอว่าจะตรวจอะไรยังไง มาดูหลักการทำงานของระบบแอร์รถยนต์กันก่อนดีกว่าครับ เอาแบบง่ายๆ แบบไม่ลงลึกรายละเอียดเพื่อเป็นแนวทางแล้วกันนะครับ ระบบแอร์ในรถของเรานั้นไม่ว่าจะเป็นแอร์แบบออโต้ หรือ แบบธรรมดา หลักการทำงานเหมือนๆกันครับ โดยเริ่มจาก....



สตาร์ทเครื่องยนต์  ทันทีที่กดสวิทซ์ AC ระบบแอร์จะสั่งให้คอมเพรสเซอร์แอร์ทำงาน  (1)

คอมเพรสเซอร์แอร์จะอัดน้ำยา มาที่คอยส์เย็น ที่อยู่ในห้องโดยสาร (2)

พัดลม (Blower) จะเป่าคอยส์แอร์ที่เย็นจัดเพื่อให้ความเย็นออกมาตามช่องแอร์ตรงหน้าปัดรถ

น้ำยาที่วิ่งผ่านคอยส์เย็นแล้ว จะถูกผลักออกไปแผงคอยส์ร้อนที่อยู่หน้ารถ และมีตัวพัดลมไฟฟ้า ทำหน้าที่ช่วยระบายความร้อน ก่อนที่จะถูกคอมเพรสเซอร์ดูดแล้วไหลวนแบบนี้ไปเรื่อยๆจนกว่าจะกดปิดแอร์ ครับ

ระบบการทำงานคร่าวๆก็เป็นแบบนี้ครับ ซึ่งทุกชิ้นส่วนมันจะทำงานร่วมกันหมดถ้าตรงไหนมีปัญหาปัญหาที่เจอคือ แอร์ไม่เย็น นั่นเองครับ

สำหรับปัญหาของอัลเมร่า ที่เจอกันบ่อยๆ ที่เรียกว่าตู้แอร์รั่วๆ ที่เป็นกันบ่อยๆก็คือ คอยส์เย็นในห้องโดยสารนั้นแหละครับ แต่ปัญหาที่ผมเจอนั้นไม่เกี่ยวกับตู้แอร์รั่ว แต่เกี่ยวกับ ครัชหน้าคอมแอร์มันไม่ทำงาน งั้นมาดูการทำงานของมันอีกหน่อยแล้วกันนะครับ

อะไรๆที่ขึ้นชื่อว่าทำความเย็น ไม่ว่าจะเป็น แอร์ ตู้แช่ ตู้เย็น ล้วนแล้วแต่จะต้องมีคอมเพรสเซอร์เป็นหัวใจหลักทั้งสิ้นแต่ต่างกันที่ขนาด รูปร่างหน้าตา และระบบของคอมเพรสเซอร์ สำหรับ คอมฯ ที่เราเจอกันในรถหลักๆจะมี 2 แบบคือ ระบบลูกสูบ และระบบโรตารี่

สำหรับรถอัลเมร่าของเราเป็นระบบ โรตารี่ ยี่ห้อ Calsonic ครับ ข้อดีของระบบโรตารี่คือ ไม่กินกำลัง ทำความเย็นได้ดี ขนาดเล็ก ถ้าใครเคยดูคอมเพรสเซอร์แอร์ของอัลเมร่า ขนาดจะใหญ่กว่ากำปั้นของเรานิดเดียวเอง แต่สามารถทำความเย็นให้กับรถได้ทั้งคันแบบนี้ไม่ธรรมดาเลยล่ะ !!!



การทำงานของคอมเพรสเซอร์ เมื่อเครื่องยนต์หมุนอยู่ สายพานหน้าเครื่องจะทำหน้าที่ฉุดหมุนพูเลย์ ให้หมุนอยู่ตลอดเวลา เมื่อเทอร์โมสตัส สั่งให้คอมฯทำงาน มันจะส่งไฟ 12 V ไปที่หน้าคอยส์ ที่อยู่ในพูเล่ย์ เมื่อไฟเข้ามาในฟิวคอยส์ มันจะกลายร่างเป็นแม่เหล็กและมันจะดูดจานครัช มาติดกับพูเล่ย์ เสียงจะดัง "แตร๊ก" ที่เราได้ยินนั่นแหละ พร้อมกับพัดลมไฟฟ้าก็จะทำงาน ภายในลูกคอมฯแอร์ มันก็จะทำหน้าที่อัดน้ำยาเข้าระบบไปตามท่อ เมื่อความเย็นได้ตามที่เราตั้งไว้แล้ว เทอร์โมสตัสก็จะตัดไฟที่ไปเลี้ยงฟิวคอยส์ เมื่อไม่มีไฟเข้าเลี้ยงสถานะของมันก็จะหมดความเป็นแม่เหล็กลงไป ดังนั้นแผ่นหน้าครัชก็จะถูกสปริงดีดออกมา เราก็จะได้ยินเสียงดัง "แตร๊ก" และพัดลมไฟฟ้าก็จะหยุดทำงานครับ



แต่โดยปกติถ้าคอมฯแอร์ยังดีอยู่ มันจะทำๆ หยุดๆ แต่ถ้าระบบเกี่ยวกับครัชนี้มีปัญหาหน้าครัชมันไม่จับตัวก็จะทำให้แอร์ไม่เย็นแบบที่ผมเจอนั่นแหละ เฮ้อออออ ..... ร่ายยาวมาซะเยอะ ถึงเวลาที่เราจะต้องเช็คกันแล้วล่ะ อย่างที่บอกไปข้างต้น เมื่อตอนที่แอร์ไม่เย็นผมเอาไขควงเคาะตรงหน้าครัชคอมแอร์ แล้วแอร์ก็กลับมาเย็นตามปรกติ แบบนี้แสดงว่า.... ไฟมา ปัญหาอยุ่ที่ชุดครัชนี่แหละ ตอนแรกจัดการเอาฟิลเลอร์เกจ มาเสียบเพื่อวัดระยะห่างของหน้าครัชคอมแอร์ก่อนเลย ...... ป๊าดดดดดดด หน้าครัชห่างงงงงงงง

 จึงต้องรื้อกันชนหน้าออก จะได้ทำงานง่ายๆ หน่อย



รื้อแผ่นบังลมสีดำออกด้วยซึ่งตัวนี้มันบังคอมเพรสเซอร์แอร์อยู่



เมื่อรื้อออกมาแล้วเราก็จะเจอจำเลยของงานนี้แหละครับ



เอาฟิลเลอร์เกจเสียบตรงช่องว่างระหว่างหน้าครัชกับพูเลย์อีกรอบเพื่อดูว่ามันห่างแค่ไหน ของผมมันห่างมากกว่า 0.030 นิ้วอีก (สำหรับสเปคดูจากตารางท้าย Review นะครับ




มาดูรายระเอียดของส่วนที่เราจะถอดกันครับว่ามีอะไรอยู่ตรงไหนบ้าง



ที่เราจะต้องถอดออกมาก่อนคือ No. 7  เพื่อเอาแผ่นชิม No. 6 ออก ที่นี้การถอด ให้ใช้ ตัว L หกเหลี่ยม เบอร์ 5 ถอด ซึ่งโดยปกติหน้าครัชจะหมุนฟรี ถ้าเราเอา หกเหลี่ยมเข้าใส่เข้าไปหมุนน๊อตมันหมุนไม่ออกหรอกครับ เพราะมันจะหมุนตามมือเราไปเรื่อยๆนั่นแหละ เทคนิคง่ายนิดเดียว
หาสายไฟยาวๆหน่อยมา 1 เส้น ปลายข้างนึงต่อหางปลาไว้ อีกข้างปอกสายออกให้เห็นทองแดง จากนั้นถอดปลั๊กไฟที่อยู่ด้านข้างคอมเพรสเซอร์ออก แล้วเอาหางปลาเสียบเข้าไปตรงฝั่งของคอมฯแอร์ก่อน > ปลายสายอีกข้างเอาไปจิ้มไว้กับขั้วบวกของแบตเตอรี่ เราจะได้ยินเสียงดัง แตร๊ก นั่นแสดงว่า คอยส์แม่เหล็กได้ทำการดูดแผ่นหน้าครัชเอาไว้แล้ว



ทีนี้การหมุนเอาน๊อตออกก็ง่ายแล้วไม่ต้องใช้แรงอะไรมากเมื่อน๊อตหลุดก็อย่าลืมเอาสายไฟที่จิ้มไว้กับขั้วบวกออกด้วยล่ะ ไม่งั้นเดี๋ยวเราดึงแผ่นครัชไม่ออก




การเอาแผ่นครัชออกเพียงแค่ค่อยๆใช้ไขควงแชะเบาๆตรงร่อง แล้วค่อยๆขยับมันก็ออกมาแล้วครับ หน้าครัชคอมฯแอร์ผมสึกหรอพอสมควรหลังจากผ่านการใช้งานมามากกว่า 160,000 กม.



มาดูฝั่งพูเล่ย์บ้าง สภาพก้ไม่ต่างกัน ซึ่งช้างในจะมีฟิวคอยส์ ที่เราบอกไปเมื่อตอนต้นนั่นแหละครับ



แล้วแผ่นชิมที่เราจะเอาออกล่ะ มันอยู่ตรงแกนในฝั่งพูเลย์แหละครับ มันอยู่ลึกหน่อยที่ค่อนข้างแคบผมใช้ลวดเสียบกระดาษงอปลายนิดหน่อยค่อยๆเขี่ยออก กว่าจะออกมาเล่นเอาเมื่อยอยู่เหมือนกัน



เมื่อแผ่นแรกออกมาแล้วก็จัดการเอาหน้าครัชใส่ ไขน๊อตให้แน่น แล้วทำการวัดระยะกันอีกที ที่นี้ระยะห่างที่ได้ อยู่ในสเปคของโรงงานแล้วแต่ค่อนไปทางปลายห่างๆอยู่ๆ จึงคิดว่าเอาออกอีกแผ่นดีกว่า เพราะเดี๋ยวใช้งานไปได้อีกหน่อยมันก็จะสึกหรออีกมันก็จะห่างอีกนั่นแหละ เลยจัดการรื้อพูเล่ย์ใหม่อีกรอบเพื่อเอาชิมออกอีก 1 แผ่น รวมตอนนี้ผมเอาออก 2 แผ่นแล้ว



พอประกอบกลับเข้าไปตามเดิมทำการเช็คระยะใหม่โดยการเสียบฟิลเลอร์เกจ  ทีนี้หลุดจากค่าโรงงานลงมาทางค่า Min เล็กน้อย คือ 0.010 นิ้ว ช่างมันๆๆ ถ้าลองทดสอบแล้วคอมแอร์ยังตัดต่อปกติ ไม่มีเสียงอะไรก็ตามนี้แหละ จึงได้สตาร์ทรถ เปิดแอร์ แล้วมานั่งดูการทำงานของหน้าครัชคอมแอร์ ก็ทำได้ปกตินะครับ แล้วสิ่งที่ได้มาคือ เสียงการตัด - ต่อ การทำงานของหน้าครัชเงียบลงอย่างเห็นได้ชัด จึประกอบทุกอย่างกลับเข้าเดิม แล้วเอารถไปวิ่งใช้งานจริง ซึ่งก็ไม่พบว่ามีความผิดปกติอะไรนะครับ นี่ก้อาจจะเป็นแนวทางนึงสำหรับคอมแอร์ของใครที่มีเสียง "แตร๊ก" การทำงานดังจนสุนัขที่อยู่ข้างๆรถยังตกใจ จะได้ลองเช็คระยะห่างคอมแอร์ดูครับ ถ้าห่างมากก็ปรับให้มันชิดๆหน่อย (แต่อย่าชิดเกินไปนะครับไม่งั้นแอร์ทำงานตลอดเวลานะ) เสียงจะได้เบาลง

สุดท้าย มาดูอุปกรณ์ที่ใช้กันครับ


แล้วก็ตารางครับ



ความคิดเห็น

  1. มีประโยชน์มากครับ ใช้ almera เช่นเดียวกันครับ

    ตอบลบ
  2. ยอดเยี่ยมครับ ผมกำลังจะเปลี่ยนหน้าคลัชวันนี้เลยแต่ขับรถไปไม่ถึงร้าน หน้าคลัชไหม้ควันท่วม ทะลักออกฝากระโปรง พังเรียบร้อยครับ หาที่ซื้อเปลี่ยนอยู่ครับ

    ตอบลบ
  3. ขอสอบถามครับ แผ่นชิม ที่เอาออก มีหน้าที่อะไรครับ
    และเวลาเปลี่ยน ชุดครัช จะต้องเปลี่ยนอะไรบ้างครับ

    ตอบลบ
  4. มีประโยชน์มากครับ

    ตอบลบ
  5. ไม่ทราบว่าหา service manual จากไหนครับ คอยล์เย็นรั่ว อยากทราบวิธีรื้อที่ถูกต้องครับ ขอบคุณครับ

    ตอบลบ

แสดงความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

เพิ่มพัดลมไฟฟ้าเป่าแผงแอร์

เนื่องจากพัดลมติดรถของผมมีตัวเดียว ซึ่งเป็นขนาด 15 นิ้ว 7 ใบพัด ซึ่งก็เพียงพอต่อการใช้งานอยู่แล้วล่ะ แต่อยากจะเพิ่มไงครับ ก็เลยต้องหาวิธีทำซะหน่อย เริ่มจากหาซื้อพัดลมก่อนเลยเป็นอันดับแรก โดยพัดลมหม้อน้ำจะมี 2 แบบคือ แบบดูด กับ แบบเป่า  พัดลมทั้งสองแบบนี้ต่างกันนะครับ ถ้าเราหันหน้าเข้าหารถ แล้วมองเห็นพัดลม ก่อนหม้อน้ำ นั่นคือพัดลมแบบเป่า  แต่ถ้ามองเห็นหม้อน้ำ พัดลมอยู่หลังหม้อน้ำ ตัวนั้นคือพัดลมแบบดูด ...... เป็นอันเข้าใจนะครับ สิ่งที่ต้องการคือ พัดลมแบบ เป่า ซึ่งในตลาดมีมากมายหลายยี่ห้อ ทั้งของใหม่ และของมือสองตามเซียงกง มีให้เลือกกันเพียบ จะเอากี่ใบ ขนาดกว้างที่นิ้ว ก็เลือกเอาเลยครับ ผมเลือกขนาด 12 นิ้ว พร้อมอุปกรณ์การทำ ก็มี เหล็กรู 4 อัน , รีเรย์ 1 ตัว , ขั้วรีเรย์ 1 อัน , ฟิวส์เสียบ 15A + กล่องฟิวส์ , สายไฟเส้นโตๆ หน่อย ยาวซัก 3 เมตร นอกนั้นก็มี น๊อต , หางปลา , ท่อร้อยสายไฟ เมื่อของพร้อม กายพร้อม ก็ลงมือกันเร้ยยย เริ่มจากถอดกันชนหน้าลงมาเลยครับ แต่ ไหนๆก็ถอดแล้ว ถ้ามีเครื่องฉีดน้ำแรงดันสูงก็ฉีดล้างแผงคอนเดนเซอร์ (แผงแอร์) ไปเลยครับ ฉีดมันน้ำเปล่าๆนั่นแหละ  นี่ก่อนล้า

เมื่อโซลินอย ที่วาล์วถังแก๊สเสีย

โซลินอย ที่ถังแก๊สเสีย โซลินอยที่ถังแก๊ส มีหน้าที่ เปิด และ ปิด แก๊สที่อยู่ในถัง ตราบใดที่เราใช้แก๊สเป็นพลังงานอยู่ โซลินอย ตัวนี้ก็จะทำงานตลอดเวลา เพื่อเปิดวาล์วให้แก๊สไหลจากถังท้ายรถ วิ่งไปหาหม้อต้มที่อยู่หน้ารถ ดังนั้นถ้าโซลินอยตัวนี้ไม่ทำงานก็ไม่สามารถใช้แก๊สได้ การสังเกตง่ายๆโดยถ้าโซลินอยตัวนี้ทำงานจะได้ยินเสียงขอวาล์วที่ถังเปิด ดัง  ...... ติ๊ก 1 ครั้ง และตัวมันเองจะต้องอุ่นๆ เพราะข้างในมันคือขดลวดนั่นเองครับ อาการที่ผมเจอคือ ตอนที่ระบบจะเปลี่ยนจากน้ำมันเป็นแก๊ส มันจะไม่ยอมเปลี่ยนครับเพราะระบบมันตรวจสอบแล้วไม่มีแรงดันของแก๊สในระบบ จะมีเสียงเตือน “ตี๊ดๆๆๆ”  ครับ ลองดูคลิปจากรถผมครับ ตอนแรกคิดว่าแก๊สหมดนะครับ เลยไปเติมแก๊สมาซะเต็มถังเลยล่ะ ซึ่งพอแก๊สยังใช้ไม่ได้ เลยต้อมเริ่มหาที่มาก่อนเลยครับ ซึ่งเจ้าโซลินอยตัวนี้แหละน่าจะเป็นจำเลยของงานนี้ เพราะมันไม่เสียงตอบรับอะไรเลยครับ เงียบกริบ เลยล่ะ เช็คไฟที่สาย ไฟก็มานะครับ แต่พอช่วงมันเตือน ตี๊ดๆๆๆ  ไฟก็ตัดไป  สำหรับโซลินอยตัวนี้ต้องหาตรงรุ่นของมันด้วยครับ ผมไปได้จากตัวแทนจำหน่ายแถวโชคชัยสี่ ราคาตัวละ 250 บาท