ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

หัวเทียน เปลี่ยนเองก้ได้




ตามคู่มือการบำรุงรักษารถยนต์นิสสันอัลเมร่า ได้มีการระบุระยะเปลี่ยนหัวเทียนเอาไว้ที่ 100,000 กม. แต่หลังจากที่ผมใช้งานจนครบ 90,000 กม. ก็ได้ทำการเปลี่ยนหัวเทียนใหม่ทั้ง 3 หัวเลยครับ ( 1 สูบมี 1 หัว ) เนื่องจากในระยะ 100,000 กม. มีหลายๆอย่างที่ต้องเปลี่ยนตามแบบฉบับของผมเองนะครับ เช่น น้ำหล่อเย็น น้ำมันเกียร์ น้ำมันเครื่อง กรองอากาศ และอาจจะรวมถึง เบรค และน้ำมันเบรคด้วย ดังนั้นผมคิดว่าค่อยๆทำไปเรื่อยๆก่อนดีกว่า เปลี่ยนเร็วกว่าหน่อยก็ไม่เสียหายนี่นาจริงไม๊ครับ

การเปลี่ยนหัวเทียนเองจะถามว่าง่ายไม๊ ผมว่าไม่ยากและไม่ง่ายครับ เพราะรื้อค่อนข้างเยอะและน๊อตบางตัวอยู่ในที่ค่อนข้างแคบด้วยครับ

อุปกรณ์ที่เป็นพระเอกของงานนี้ก็หนีไม่พ้น บล๊อคถอดหัวเทียนเบอร์ 14 แบบบาง ตามท้องตลาดอาจจะหาซื้อยากซักหน่อยเพราะใช้สำหรับรถรุ่นใหม่ๆ (ในตลาดส่วนมากจะเจอเบอร์ 16)



นอกนั้นก็จะมี ลูกบล๊อคเบอร์ 8 , 10

สำหรับหัวเทียนตามคู่มือจะเป็นหัวเทียน Denso FXE20HR11 เป็นแบบ IRIDIUM ซื้อที่ ศูนย์บริการนิสสันดีที่สุดแล้วครับ เพราะหัวเทียนเบอร์นี้ค่อนข้างยากตามร้านอะไหล่ ดีไม่ดีอาจจะเจอของเทียมซึ่งร้านอะไหล่ขาประจำผมเคยเอาหัวเทียน Denso แต่เป็นรุ่น SC20HR11 ซึ่งรุ่นนี้จะประจำการอยู่ในรถ TOYOTA เช่นรุ่น New Altis , Prius ขอบอกว่าโคลนนิ่งกันมาเลยครับ เหมือนมากกกกก เรียกได้ว่าถ้าไม่รู้ว่าเป็นของเทียมแล้วซื้อมา คนซื้อดีใจแน่ๆที่ได้ของถูก อ่าว....ออกทะเลไปไกล ย้อนกลับมาที่ หัวเทียน Denso FXE20HR11 เป็นหัวเทียน IRIDIUM แบบ Double Needle คือขั้วแกนกลางเป็น IRIDIUM และมีเข็ม PLATINUM ติดอยู่ที่ปลายเขี้ยว เป็นดีไซน์เฉพาะรุ่นครับ สนนราคาซื้อจากศูนย์ตัวละ 700 บาทยังไม่รวม vat 7% นะครับ

ลองดูครับที่ปลายเขี้ยวจะมีตุ่มเล็กๆอยู่ด้วยครับ ไม่รู้ว่ามันสำคัญยังไง แต่ถ้าไม่มีตุ่มนี้การจุดระเบิดจะเพี๊ยนๆเอ๋อๆไปเลยล่ะครับ



เมื่อได้ของแล้ว กายพร้อม ใจพร้อม เริ่มลงมือกันเลยครับ หลักการไม่มีอะไรมากทำยังไงก็ได้ให้ถอดท่อร่วมไอดีออกมาให้ได้ เพราะมี หัวเทียน 1 หัวที่โดนท่อร่วมไอดีบังอยู่

ขั้นตอนเริ่มจากถอดขั้วแบตเตอรี่ ขั้วลบ ออกก่อนครับ

จากนั้นถอดชุดกรองอากาศออกครับ

จากนั้นมาลงมือต่อกันเลยครับ ชุดนี้น๊อตจะเยอะหน่อยครับ ลองดูรูปคร่าวๆก่อนครับ



เริ่มจากท่อ EGR จะเป็นน๊อต 2 ตัว ถอดแล้วเพลทรองด้านหลังจะร่วงไปข้างหลังช่างมันครับ




จากนั้นก็มาจัดการของยากครับ ตรงพอร์ทไอดี ตรงนี้เป็นน๊อตเบอร์ 10 ที่ว่ายากเพราะพื้นที่ค่อนข้างคับแคบครับ และถอดสายชุดหัวฉีดแก๊ส ออกด้วยครับ


จากนั้นก็ใช้บล๊อคเบอร์ 8 ถอดน๊อต 4 ตัวตรงลิ้นปีกผีเสื้อครับ



ดูชัดๆด้านหน้ายังสะอาดอยู่เลยหลังจากที่เพิ่งล้างไปตอนตั้งวาล์ว



นี่ด้านหลัง ถ้าลิ้นปีกผีเสื้อสกปรกปัญหาที่พบคือ รอบเดินเบาไม่นิ่ง แก้ไขได้โดยการล้างลิ้นตัวนี้ให้สะอาด แต่ปัญหาของอัลเมร่าคือ ใช้คันเร่งไฟฟ้า และลิ้นปีกผีเสื้อก็ควบคุมด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า หรือที่เรียกว่า Drive By Wire โดยจะใช้เซนเซอร์ในการตรวจสอบองศาของลิ้นปีกผีเสื้อ ดังนั้นในการล้างอาจจะทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนหลังจากที่ประกอบเสร็จแล้วสตาร์ทเครื่อง รอบเครื่องอาจจะสูงผิดปรกติ วิธีแก้ไขคือ ให้ศูนย์บริการตั้งรอบเครื่องยนต์ให้ใหม่ครับ


จากนั้นก็ถอดสายแก๊สออก และน๊อตอีก 2 ตัวที่ยึดท่อไอดี กับหลังเครื่อง



แล้วค่อยๆยกท่อร่วมไอดีออกมาเลยครับ

อันนี้ท่อ EGR ครับหน้าที่ของมันคือ เอาไอเสีย(บางส่วน)ที่เกิดจากการเผาไหม้เอาเข้ามาบำบัดอีกรอบโดยผ่านทางพอร์ตไอดีเพื่อให้ได้มาตรฐานสิ่งแวดล้อม


บร๊ะเจ้า.... พอร์ตไอดี ที่เข้าเครื่องฉ่ำเลย มันจะเกี่ยวกับระบบ EGR ไม๊นะ


จากนั้นมองไปบนหลังเครื่องจะเจอก้อนดำๆ 3 ก้อน อันนี้เค้าเรียก ไดเร็คคอยล์ (Direct Coil) หน้าที่ของมันคือแปลงกระแสไฟ 12 โวลท์ เพิ่มไปหมื่นโวท์ เพื่อให้หัวเทียนเกิดประกายไฟเพื่อใช้ในขั้นตอนของการจุดระเบิดในห้องเผาไหม้ การถอดให้ถอดปลั๊ก และถอดน๊อตเบอร์ 10 ที่หัวคอยล์ออกแล้วดึงขั้นมาตรงๆเลยครับ



ตัวเป็นๆเลยครับ




เมื่อถอดออกมาแล้วสิ่งนึงที่ต้องระวังเป็นมากๆคือ ฝุ่น เศษผง ต่างๆจะหลุดร่วงลงไปในรู ทั้งรูหัวเทียน , EGR และ พอร์ตไอดี เพราะสิ่งไม่พึงประสงค์ที่ร่วงลงไปจะเป็นเหมือนกระดาษทรายที่คอยทำลายลูกสูบ และวาล์ว ได้ครับวิธีที่ดีที่สุด คือหากระดาษหนังสือพิมพ์มาอุดรูต่างๆซะ และ...... ห้าม..... ทำความสะอาด ปัด เป่า เศษฝุ่นผงต่างๆที่หลังเครื่องอย่างเด็ดขาด ถ้าอยากจะทำให้ทำตอนหลังจากที่เราเปลี่ยนหัวเทียนและใส่คอยส์เรียบร้อยแล้วเท่านั้น และให้ใช้การดูดฝุ่น แทนการเป่าที่จะทำให้่ฝุ้งกระจายไปทั่ว





จากนั้นเอาบล๊อคถอดหัวเทียนค่อยๆแหย่ลงไปแล้วออกแรงหมุนเพื่อเอาหัวเทียนออก แต่เนื่องจากบล๊อคถอดหัวเทียนของผมเป์นแบบถูกๆ ไม่มีตัวหนีบหัวเทียนจึงต้องใช้วิธีบ้านๆโดยการหมุนหัวเทียนออกจนเกือบสุดเกลียว แล้วเอาสายยางลงไปเสียบหัวเทียน



หมุนอีกนิดหน่อยก็ดึงหัวเทียนออกมามาได้แล้วครับ



ของเดิมๆติดรถมาใช้มา 90,000 กม.



ดูชัดๆ สีน้ำตาล แสดงว่า ระบบเผาไหม้ดีไม่ผิดปรกติ



ส่วนอันนี้ของใหม่กริ๊บ



เอาหัวเทียนใหม่เสียงลงไปในสายยางแล้วเอาลงไปหมุนๆๆ ใส่ในช่องหัวเทียน จากนั้นใช้บล๊อคถอดหัวเทียน หมุนหัวเทียนให้แน่น ทำแบบนี้จนครบทั้ง 3 ตัว  จากนั้นก็เอาคอยส์ใส่โดยกดลงไปตรงๆ แล้วหมุนน๊อตล๊อตให้แน่น

ก่อนที่ประกอบกลับเข้าที่เดิมลองดูซีลยางต่างๆว่าสภาพยังดีอยู่ไม๊ ถ้ายังดีอยู่ก็ไม่ต้องเปลี่ยน แต่ถ้าฉีก ทรุด รั่ว ให้เปลี่ยนไปเลยครับไม่เช่นนั้น อากาศจะรั่วทำให้รอบเครื่องไม่นิ่ง และสะดุด หรือาจจะไปจนถึงเครื่องดับได้ครับ สำหรับซีลต่างๆมีดังนี้

ซีลลิ้นปีกฝีเสื้อ



ซีลท่อ EGR



ซีลพอร์ทไอดี จุดนี้มี 3 ชิ้น


 ผมสั่งซื้อซีลทั้งหมดแต่เนื่องจากของไม่มี ที่ store กลางของทางนิสสันก็หมด ได้มาแค่ซีลลิ้นปีกผีเสื้ออันเดียวเอง ผมจึงใช้วิธี ใช้กาวประเก็น ช่วยโดยบีบกาวประเก็นใส่ในร่องบางๆแล้วเอาซีลค่อยๆวางทับลงไป จากนั้นก็เอากระดาษที่อุดเอาไว้ออก ถ้าตรงไหนสกปรกโดยเฉพาะรอบๆปากให้เอากระดาษหนังสือพิมพ์นั่นแหละเช็ดทำความสะอาด

จากนั้นก็ค่อยๆวางท่อร่วมไอดีลงตามตำแหน่งที่ถอดออกมาโดยค่อยๆวางลงไปขยับเลื่อนให้น้อยที่สุด เพื่อป้องกันซีลเสียรูปทรง
จากนั้นค่อยๆใส่น๊อต ไล่กวดให้แน่น , ต่อสายแก๊ส , สายไฟ ให้เรียบร้อย และสุดท้าย อย่าลืมใส่แบตขั่วลบด้วยล่ะครับ



ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

บางทีแอร์ก็ไม่เย็น ลองเช็คหน้าครัชคอมแอร์กันก่อนไม๊

ก่อนอื่น ผมต้องขอขอบคุณ วิลลิส แคริเออร์ นักประดิษฐ์ชาวอเมริกา ผู้เป็นบิดาแห่งเครื่องปรับอากาศสมัยใหม่ เพราะอย่างที่เรารู้ๆกันอยู่ครับว่าเมืองไทยเป็นเมืองร้อน ถ้า...... รถไม่มีแอร์ คงทรมานไม่น้อยเลยแน่ๆตอนรถติด แล้วถ้าแอร์รถเราเย็นมั่ง ไม่เย็นมั่งล่ะ ...... มันเกิดจากอะไรได้บ้าง โอ๊ยยยยย  ...... สาเหตุเยอะแยะ เช่น เทอร์โมสตัส มีปัญหาไม๊ ระบบไฟมีปัญหารึป่าว  ระบบระบายความร้อนยังดีอยู่ไม๊  ฯลฯ  แต่สำหรับปัญหาที่ผมเจอเกี่ยวกับแอร์ที่จะเอามาบอกกันครั้งนี้คือ อยู่ๆแอร์ก็ไม่เย็นเอาซะดื้อๆ พอดับเครื่องสตาร์ทใหม่ เปิดแอร์ >>> แอร์ก็กลับมาเย็นตามปกติ แล้วก็ปกติแบบนี้ไปอีกหลายวัน จนเมื่อ.... อาการแบบเดิมกลับมาอีก >> จอดรถ เปิดกระโปรงหน้า อันดับแรกที่ดู พัดลมไฟฟ้ายังทำงานปกติ แต่คอมเพรสเซอร์แอร์ ..... ไม่ทำงาน !! >>> กดปิด AC พัดไฟฟ้าก็หยุด พอกดเปิด AC พัดลมก็กลับมาทำงานเหมือนเดิม แต่คอมแอร์ก็ยังไม่ทำงาน   ....... งั้นรู้แล้วล่ะว่าที่อยู่ๆแอร์ไม่เย็นเพราะ คอมเพรสเซอร์แอร์ ไม่ยอมทำงาน (รู้ได้จากหน้าครัชแอร์ไม่หมุน)  ที่นี้ปัญหาที่ทำให้หน้าครัชแอร์ไม่หมุนมีหลายอย่างเล

เมื่อโซลินอย ที่วาล์วถังแก๊สเสีย

โซลินอย ที่ถังแก๊สเสีย โซลินอยที่ถังแก๊ส มีหน้าที่ เปิด และ ปิด แก๊สที่อยู่ในถัง ตราบใดที่เราใช้แก๊สเป็นพลังงานอยู่ โซลินอย ตัวนี้ก็จะทำงานตลอดเวลา เพื่อเปิดวาล์วให้แก๊สไหลจากถังท้ายรถ วิ่งไปหาหม้อต้มที่อยู่หน้ารถ ดังนั้นถ้าโซลินอยตัวนี้ไม่ทำงานก็ไม่สามารถใช้แก๊สได้ การสังเกตง่ายๆโดยถ้าโซลินอยตัวนี้ทำงานจะได้ยินเสียงขอวาล์วที่ถังเปิด ดัง  ...... ติ๊ก 1 ครั้ง และตัวมันเองจะต้องอุ่นๆ เพราะข้างในมันคือขดลวดนั่นเองครับ อาการที่ผมเจอคือ ตอนที่ระบบจะเปลี่ยนจากน้ำมันเป็นแก๊ส มันจะไม่ยอมเปลี่ยนครับเพราะระบบมันตรวจสอบแล้วไม่มีแรงดันของแก๊สในระบบ จะมีเสียงเตือน “ตี๊ดๆๆๆ”  ครับ ลองดูคลิปจากรถผมครับ ตอนแรกคิดว่าแก๊สหมดนะครับ เลยไปเติมแก๊สมาซะเต็มถังเลยล่ะ ซึ่งพอแก๊สยังใช้ไม่ได้ เลยต้อมเริ่มหาที่มาก่อนเลยครับ ซึ่งเจ้าโซลินอยตัวนี้แหละน่าจะเป็นจำเลยของงานนี้ เพราะมันไม่เสียงตอบรับอะไรเลยครับ เงียบกริบ เลยล่ะ เช็คไฟที่สาย ไฟก็มานะครับ แต่พอช่วงมันเตือน ตี๊ดๆๆๆ  ไฟก็ตัดไป  สำหรับโซลินอยตัวนี้ต้องหาตรงรุ่นของมันด้วยครับ ผมไปได้จากตัวแทนจำหน่ายแถวโชคชัยสี่ ราคาตัวละ 250 บาท

เพิ่มพัดลมไฟฟ้าเป่าแผงแอร์

เนื่องจากพัดลมติดรถของผมมีตัวเดียว ซึ่งเป็นขนาด 15 นิ้ว 7 ใบพัด ซึ่งก็เพียงพอต่อการใช้งานอยู่แล้วล่ะ แต่อยากจะเพิ่มไงครับ ก็เลยต้องหาวิธีทำซะหน่อย เริ่มจากหาซื้อพัดลมก่อนเลยเป็นอันดับแรก โดยพัดลมหม้อน้ำจะมี 2 แบบคือ แบบดูด กับ แบบเป่า  พัดลมทั้งสองแบบนี้ต่างกันนะครับ ถ้าเราหันหน้าเข้าหารถ แล้วมองเห็นพัดลม ก่อนหม้อน้ำ นั่นคือพัดลมแบบเป่า  แต่ถ้ามองเห็นหม้อน้ำ พัดลมอยู่หลังหม้อน้ำ ตัวนั้นคือพัดลมแบบดูด ...... เป็นอันเข้าใจนะครับ สิ่งที่ต้องการคือ พัดลมแบบ เป่า ซึ่งในตลาดมีมากมายหลายยี่ห้อ ทั้งของใหม่ และของมือสองตามเซียงกง มีให้เลือกกันเพียบ จะเอากี่ใบ ขนาดกว้างที่นิ้ว ก็เลือกเอาเลยครับ ผมเลือกขนาด 12 นิ้ว พร้อมอุปกรณ์การทำ ก็มี เหล็กรู 4 อัน , รีเรย์ 1 ตัว , ขั้วรีเรย์ 1 อัน , ฟิวส์เสียบ 15A + กล่องฟิวส์ , สายไฟเส้นโตๆ หน่อย ยาวซัก 3 เมตร นอกนั้นก็มี น๊อต , หางปลา , ท่อร้อยสายไฟ เมื่อของพร้อม กายพร้อม ก็ลงมือกันเร้ยยย เริ่มจากถอดกันชนหน้าลงมาเลยครับ แต่ ไหนๆก็ถอดแล้ว ถ้ามีเครื่องฉีดน้ำแรงดันสูงก็ฉีดล้างแผงคอนเดนเซอร์ (แผงแอร์) ไปเลยครับ ฉีดมันน้ำเปล่าๆนั่นแหละ  นี่ก่อนล้า